จัดทำโดย

จัดทำโดย
1. นางสาวกมลลักษม์ ลิ้มสวรรค์ ม.4/9 เลขที่ 1
2. นางสาวกันติชา วาณิชย์เจริญกุล ม.4/9 เลขที่ 2
3. นางสาวดวงหทัย ฤกษ์ลักษณี ม.4/9 เลขที่ 4
4. นางสาวปรารถนา ตั้งชัยสุข ม.4/9 เลขที่ 7

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Muscular system

กล้ามเนื้อ (Muscle) 
       กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นพิเศษพบได้ทุกส่วนของร่างกาย บางชนิดอยู่ใต้อำนาจจิตใจ สามารถบังคับได้ อีกกลุ่มหนึ่งอยู่นอกอำนาจจิตใจไม่สามารถบังคับได้ กล้ามเนื้อในร่างกายแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้


   1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) 
          - เป็นกล้ามเนื้อเดียวที่ยึดติดกับกระดูก จึงอาจเรียกว่า “ กล้ามเนื้อกระดูก ” 
          - ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลายขาวดำสลับกัน หนึ่งเซลล์มีหลายนิวเคลียส 
          - มีความแข็งแรงและสามารถยืด-หดตัวได้สูง 
          - ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทส่วนกลาง 
          - ตัวอย่าง : กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขากล้ามเนื้อลำตัว
  
   2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)  
          - เป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเรียบไม่มีลาย 
          - เซลล์มีลักษณะแบนยาว ปลายแหลมเรียว รูปร่างคล้ายกระสวย ภายในมีนิวเคลียสอันเดียว 
          - ใช้พลังงานน้อยในการยืด-หดตัว 
          - ควบคุมการทำงานโดยระบบประสาทอัตโนมัติ 
          - ตัวอย่าง : ผนังลำไส้ ปอด ผนังกระเพาะอาหาร
          - ใช้พลังงานน้อยที่สุดในการทำงาน
  

   3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) 
          - เป็นกล้ามเนื้อหัวใจโดยเฉพาะ 
          - เซลล์จะมีลายพาดขวาง มีนิวเคลียสหลายอัน คล้ายกล้ามเนื้อลาย แต่จะมีการแตกแขนงและจะหดตัวพร้อมกัน
          - ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ
          - ใช้พลังงานมากที่สุดในการทำงาน


ภาพสรุปรูปร่างของกล้ามเนื้อต่างๆเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
 


การทำงานของกล้ามเนื้อ
       ฮักเลย์และแฮนสันได้เสนอสมมติฐานการหดตัวของกล้ามเนื้อว่า เกิดจากการเลื่อนตัวของแอกทินเข้าหากันตรงกลาง การเลื่อนของโปรตีนดังกล่าวทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อหดตัว การเคลื่อนไหวในแต่ละส่วนของร่างกาย โดยกล้ามเนื้อจะทำงานรวมกันเป็นคู่ๆในลักษณะ antagonism คือ เมื่อกล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดจะคลายตัว ซึ่งระบบเหล่านี้ถูกควบคุมโดยระบบประสาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น